Step 1: ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง เราขอชวนคุณไปใช้สิทธิ หากคุณมีคุณสมบัติดังนี้ - มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติต้องถือสัญชาติไทยไม่น้อยกว่า 5 ปี - อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีในวันเลือกตั้ง - มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี
Step 2: เตรียมหลักฐานเพื่อแสดงตัวตน คุณต้องใช้บัตรประชาชน (สามารถใช้บัตรที่หมดอายุแล้ว) หรือหลักฐานอื่นของทางราชการหรือหน่วยงานรัฐออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายและเลขประจำตัวประชาชน เช่น บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่รัฐ ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง เพื่อใช้แสดงตนในการลงคะแนนเลือกตั้ง
Step 3: ตรวจสอบรายชื่อก่อนวันเลือกตั้ง ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 25 วัน ที่ - ศาลากลางจังหวัด - ที่ว่าการอำเภอ - อบจ. - เอกสารแจ้งรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ส่งมายัง -…
นายก อบจ. แบบไหน ที่คนไทย (เหมือนจะ) ชอบ? หลังจากที่ผ่านพ้นการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 หนึ่งในการเลือกตั้งใหญ่ที่พรรคการเมืองต่างขับเคี่ยวหาเสียงและเสนอนโยบายอย่างดุเดือดเลือดพล่านผ่านทั้งช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ ในการแย่งชิงคะแนนเสียงและที่นั่งในสภาให้ได้มากที่สุดเพื่อจัดตั้งรัฐบาล ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 นี้ เตรียมตัวพบการเลือกตั้งครั้งใหม่ที่ซึ่งสำคัญไม่แพ้กับการเลือกตั้งทั่วไป นั่นคือการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือ ’การเลือกตั้ง อบจ.’ หนึ่งในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่หาคนเข้ามาพัฒนาและกำหนดนโยบายภายในจังหวัด โดยประชาชนในจังหวัดจะเป็นผู้เลือก นายก อบจ. และสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) ก่อนออกไปเลือกตั้ง เรามารู้จักกันก่อนว่า ‘นายก อบจ.’ คือใคร มาจากไหน และมีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง ?
อ่านเพิ่มเติม
รู้จัก อบจ. ชื่อนี้คุ้นหู แต่อยากรู้ว่าทำงานอะไรให้กับประชาชนบ้าง? ‘องค์การบริหารส่วนจังหวัด’ หรือ อบจ. มีหน้าที่สำคัญในการบริหารพัฒนาท้องถิ่น ผ่านการใช้งบประมาณเพื่อมอบบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในจังหวัด อบจ. ใช้อำนาจหน้าที่ตาม พ.ร.บ. องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ในการดำเนินงานภายในเขตจังหวัดและจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในพื้นที่ หน้าที่ของ อบจ. จึงเริ่มต้นจากการ ‘ตราข้อบัญญัติการใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด’ ’จัดทำแผนพัฒนาตามระเบียบที่ ครม. กำหนด’ รวมถึง ‘แบ่งสรรเงินให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ๆ’
อ่านเพิ่มเติม
องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) หรือ ACT เปิดเผยข้อมูลกรณี "10 ทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง" ในองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2547–2567) พบการทุจริตหลายรูปแบบ เช่น การจัดซื้อถุงยังชีพมิชอบ การจ้างเหมาขุดลอกลำน้ำ และการใช้งบประมาณอุดหนุนวัดที่ไม่โปร่งใส รวมความเสียหายกว่า 377 ล้านบาท
แม้จะมีการร้องเรียนเรื่องการทุจริตใน อบจ. มากถึง 827 เรื่องในปี 2566 เพียงปีเดียว แต่จำนวนคดีที่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมกลับมีน้อย และหลายคดีก็เงียบหาย สะท้อนถึงปัญหาในกระบวนการตรวจสอบและลงโทษ รวมถึงการขาดการติดตามอย่างจริงจัง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : เว็บไซต์องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย)
อ่านเพิ่มเติม